วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ภาระงานในแต่ละวันเหมือนเดิมทุกๆวัน

1 บันทึกรหัสโรคย้อนหลัง
2 เก็บสถิติผู้ป่วยที่มีนัดตรวจตรงวัน
3 เก็บแฟ้มตามจุดตรวจให้นักเวชฯ ลงรหัสโรค
4 บันทึกรหัสโรคลงในคอมพิวเตอร์
5 ส่งแฟ้มผู้ป่วยไปตรวจต่อคลินิกอื่นๆ
6 ค้นหา HN เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ ของผู้ป่วย
7 เก็บแฟ้มให้ แพทย์ พยาบาล และแยกเก็บแฟ้มมีนัดภายในสัปดาห์

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

งานที่ทำในแต่ละวัน



การสัมมนา งานเวชระเบียน
เรื่อง “ ทำงานให้เป็นสุข สนุกกับงาน ”

( Enjoys Life & Enjoys Work )

ณ โรงแรมมณเฑียร พัทยา
วันที่ 5 – 6 กรกฎาคม 2551 และ วันที่ 12 – 13 กรกฎาคม 2551








1 เก็บสถิติผู้ป่วยที่มีนัดตรวขตรงวัน
2 บันทึกรหัสโรคย้อนหลัง
3 เก็บแฟ้มตามจุดให้นักเวช ฯ ลงรหัสโรค
4 บันทึกรหัสโรคลงในคอมพิวเตอร์
5 ส่งแฟ้มผู้ป่วยไปตรวจต่อคลินิกอื่น
6 ค้นหา HN ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ยองผู้ป่วย
7 เก็บแฟ้ม ให้ แพทย์ พยาบาล และแยกเก็บแฟ้มมีนัดภายในสัปดาห์

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ฝึกงาน โรงพยาบาลศิริราช


แรกเริ่มเดิมทีนั้น งานเวชระเบียน ยังไม่มีรูปร่างหน้าตาดังในปัจจุบัน สมัยนั้นครั้งที่โรงพยาบาลศิริราชเริ่มเปิดบริการครั้งแรกก็ยังไม่มีหน่วยใดมีหน้าที่เก็บแฟ้มประวัติผู้ป่วยโดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงโรงพยาบาลศิริราชหลายท่านคงทราบมาแล้วว่าโรงพยาบาลศิริราชเปิดบริการครั้งแรกเมื่อ 26 เมษายน ปี พ.ศ. 2431 โดยสร้างจากอาคารไม้ที่รื้อมาจากงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ในปี 2430ต่อมาในปี 2432 โรงเรียนแพทย์ได้ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเช่นกัน และงานเวชระเบียน โรงพยาบาลศิริราช ก็นับว่าเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่ง ต่อระบบงานของโรงพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เนื่องจากงานเวชระเบียนเป็นคลังข้อมูลและแหล่งเอกสารสำคัญทางการแพทย์ ที่จะสามารถนำไปสนับสนุนการบริหาร งานวิชาการ งานการเรียนการสอน งานวิจัยและงานบริการ ได้อย่างมีระบบ ดังนั้น จึงขอเผยแพร่ประวัติความเป็นมาพอสังเขปเพื่อเป็นความรู้ต่อไป
ก่อนปี พ.ศ. 2485 รายงานผู้ป่วยเก็บไว้รวมกันทุกภาควิชา ต่อมารายงานมากขึ้น จึงเก็บไว้ในห้องเพดาน ที่ตึกอำนวยการ
พ.ศ. 2485 ภาควิชาสูติ-นรีเวช เริ่มเก็บไว้ในภาควิชา ต่อมาภาควิชาอื่น ๆ จึงเก็บไว้ ในแต่ละภาควิชา
พ.ศ. 2502 ก่อตั้งคณะกรรมการรายงานและสถิติผู้ป่วย ร.พ. ศิริราช มีคณะกรรมการ จากภาควิชาต่าง ๆ คือ
1. พ.ญ.ตระหนักจิต หะริณสุต ประธานกรรมการ
2. น.พ.ทองน่าน วิภาตะวณิช รองประธานและผู้แทนภาควิชาอายุรฯ
3. น.พ.ทองนอก นิตยสุทธิ์ รองประธานและผู้แทนภาควิชาศัลย ฯ
4. ศจ.นพ.สรรค์ ศรีเพ็ญ รองประธานและผู้แทนภาควิชาสูติ ฯ
5. ศจ.พญ. เฉิดฉลอง เนตรศิริ รองประธานและผู้แทนภาควิชากุมาร ฯ
6. พ.ญ. ผิว ลิมปพยอม รองประธานและผู้แทนภาควิชาจักษุ ฯ และเลขานุการ
พ.ศ. 2504 ด้วยความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญสถิติ ขององค์การอนามัยโลก Dr. Lowell A Woodbury ก่อตั้งแผนกเวชระเบียนและสถิติขึ้น ซึ่งเดิมมีชื่อว่า หน่วยกลางรายงานและสถิติ โดยความควบคุมของ น.พ.ทองน่าน วิภาตะวณิช และพ.ญ. วินิตา วิเศษกุล มี สำนักงานอยู่ที่ภาควิชาอายุรศาสตร์ การรับเจ้าหน้าที่เข้าปฏิบัติงาน ได้รับผู้ที่สำเร็จอาชีวชั้นสูง และมัธยมบริบูรณ์จำนวน 6 คน มาฝึกอบรมเกี่ยวกับการกายวิภาค ผ่าตัด โรค และ Terminology นอกจากนั้น ยังส่งไปฝึกการใช้เครื่องจักรโดยวิธีเจาะบัตรที่บริษัท ไอ.บี.เอ็ม. ฝึกการให้รหัสและการเก็บรายงาน ต่อมาได้ใช้ห้องชั้นล่างปีกซ้ายของตึกอำนวยการเป็นสำนักงาน และ Dr. Woodbury ย้ายมาทำงานที่รพ.ศิริราช
พ.ศ. 2505 องค์การอนามัยโลกได้จัดการประชุมสัมมนาสถิติโรงพยาบาลของประเทศต่าง ๆ ในภาคเอเชียอาคเนย์ ผลจากการสัมมนา จึงได้จัดตั้งการอบรมพนักงานเวชระเบียน (Medical RecordOfficer Training Course) ขึ้นที่ ร.พ.ศิริราช ระหว่าง มิ.ย. 2507 – มี.ค. 2508 หนึ่งปีการศึกษา มีนักศึกษาจากประเทศต่าง ๆ 9 คน คือ
พม่า 1 คน เนปาล 1 คน อัฟกานิสถาน 2 คน อินโดนิเซีย 1 คน ไทย 4 คน กรมการแพทย์ 1 คน ร.พ.เชียงใหม่ 1 คน ร.พ.จุฬา 1 คน ร.พ.ศิริราช 1 คน
พ.ศ. 2506 บรรจุแพทย์มาช่วยดูแลประจำอีก 1 คน คือ พ.ญ.สมพร เอกรัตน์
พญ.สมพร เอกรัตน์
พ.ศ. 2507 ไชน่าเมดิคัลบอร์ด แห่งนิวยอร์ค (China Medical Board of Now York)ให้ทุนการศึกษาแก่ พ.ญ. วินิตา วิเศษกุล (หัวหน้าแผนก ฯ) ไปศึกษาวิชาสถิติที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และดูงานการเก็บรายงานตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ในสหรัฐ เป็นเวลา 2 ปี และ ให้เครื่องคิดเลขไฟฟ้า 1 เครื่อง พ.ศ. 2509 น.ส.เสริมศรี บุญเสริม (พนักงานสถิติของแผนก ฯ ) ได้ทุนจากองค์การอนามัยโลกไปศึกษาMedical Record Training Course ที่ประเทศพม่า
พ.ศ. 2511 พ.ญ.สมพร เอกรัตน์ (รองหัวหน้าแผนก ฯ ได้ทุนโคลัมโบ ไปศึกษาHealth Services and Administration ที่มหาวิทยาลัย Leeds ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2516 พ.ญ.สมพร เอกรัตน์ ได้รับเชิญไปเป็นที่ปรึกษาทางด้านสถิติขององค์การอนามัยโลกณ ประเทศอินโดนีเซีย และปีเดียวกัน พ.ญ. สมพร เอกรัตน์ ได้เป็นผู้แทนของประเทศไทยไปประชุมสถิติระหว่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2517 พ.ญ.สมพร เอกรัตน์ ได้รับเชิญไปเป็นที่ปรึกษาสถิติทางการแพทย์ณ ประเทศมาเลเซีย
ต่อมา หน่วยกลางรายงานและสถิติผู้ป่วย ร.พ.ศิริราช ได้เปลี่ยนชื่อเป็นแผนกเวชระเบียนและสถิติ (Medical Records and Statistics Department)และมาเป็น งานเวชระเบียน จนปัจจุบัน
หน้าที่รับผิดชอบในอดีตหน้าที่การรับผิดชอบของแผนกเวชระเบียนและสถิติเมื่อครั้งอดีต ที่กระทำกันมานาน จนปัจจุบันนี้บางอย่างก็ยังคงกระทำอยู่ บางอย่างก็เปลี่ยนแปลงไป
งานด้านบริการ
1. หน่วยจ่ายบัตรผู้ป่วยนอก
1.1 หน้าที่รับผิดชอบ จ่ายบัตรผู้ป่วยนอกตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน
1.1.1 จัดเตรียมบัตรผู้ป่วยนอก สำหรับผู้ป่วยใหม่ โดยเตรียมบัตรผู้ป่วยนอก (O.P.D. card) และบัตรประจำตัวผู้ป่วย (I.D. card) ไว้ให้พร้อมในตอนบ่าย โดยให้เลขที่ทั่วไปไว้ตอนเช้า พอผู้ป่วยใหม่มา ร.พ. จะต้องขอบัตรใหม่ ทาง ร.พ. จะต้องขอบัตรใหม่ ทาง ร.พ. จะมีเจ้าหน้าที่ Screen ผู้ป่วย (พยาบาลหรือนักสถิติตรี) เป็นผู้ซักประวัติ แล้วจัดแยกผู้ป่วยไปตรวจตามแผนกต่าง ๆ ต่อจากนี้เจ้าหน้าที่เขียนบัตรจะซักประวัติส่วนตัว เพื่อกรอกลงในบัตร มี ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ สัญชาติ เชื้อชาติ สภาพสมรส ที่อยู่ อาชีพ บิดามารดา แล้วให้เลขที่ทั่วไปเรียบร้อยแล้วส่งไปยังห้องตรวจแผนกต่าง ๆ
1.1.2 ค้นบัตรผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ป่วยเคยมารับการรักษาที่ ร.พ.นี้ก็จะนำบัตรประจำตัวผู้ป่วย (I.D. cards) ซึ่งมีเลขที่ทั่วไปมาแสดง ทางเจ้าหน้าที่บัตรจะค้นบัตรเก่า ห้ตามเลขที่ทั่วไปนั้น แล้วส่งไปตรวจตามแผนกต่าง ๆ 1.1.3 หลังจากผู้ป่วยได้ตรวจเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางห้องตรวจ จะนำบัตรผู้ป่วยส่งกลับมายังหน่วยจ่ายบัตรนี้ เจ้าหน้าที่บัตรจะต้องจัดเรียงบัตรเข้าที่ให้เสร็จภายในวันนั้น ๆ เพื่อจะได้ค้นหาได้ง่าย ๆ ในวันต่อ ๆ ไป เมื่อผู้ป่วยจะมาตรวจใหม่1.2 เจ้าหน้าที่ Sceen มีผลัดเปลี่ยนกัน 4 คนเจ้าหน้าที่เขียนบัตร 12 คน เจ้าหน้าที่ค้นบัตร 10 คน
2. หน่วยรับผู้ป่วยใน (Admitting Office)
เป็นหน่วยที่รับผู้ป่วยไว้รักษาใน ร.พ. เมื่อแพทย์ลงความเห็นว่าควรรับไว้ ดังนั้น เจ้าหน้าที่ในหน่วยนี้มีหน้าที่ รับผิดชอบ ดังนี้
2.1 จัดทำแผ่นชื่อโลหะ Name plate เป็นแผ่นโลหะที่ฉลุชื่อผู้ป่วย เลขที่ทั่วไป ที่อยู่ เพศ อายุ สภาพสมรส อาชีพ ภาควิชา หอพักผู้ป่วย วันเวลาที่รับไว้ใน ร.พ. และจะพิมพ์ข้อความจากแผ่นโลหะนี้ลงไปในฟอร์ม รายงานทุกแผ่น ซึ่ง Name plate นี้ มีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยมาก เพราะจะได้ชื่อ เลขที่ทั่วไปที่ถูกต้องและชัดเจน และไม่เลอะเลือนได้ง่าย
2.2 จัดทำ Control card โดยใช้บัตร ไอ.บี.เอ็ม. ใช้เป็นประโยชน์ เป็นใบแจ้งว่ารับไว้รักษาใน ร.พ.ข้อความจาก Name plate ลงสู่บัตรไอ.บี.เอ็ม. ที่ออกแบบฟอร์มพิเศษ ซึ่งเรียกว่า Control card บัตรนี้ใช้ควบคุมการรับผู้ป่วยไว้ใน ร.พ. ควบคุมการจำหน่าย ควบคุมการส่ง รายงานการเจ็บป่วย และเก็บไว้เป็น Name Indexing card ซึ่งมีประโยชน์ในกรณีที่ผู้ป่วยทำ บัตรหาย หรือนำบัตรเก่ามาเพียงแจ้งชื่อ นามสกุล เจ้าหน้าที่สามารถจะค้นบัตรและประวัติเก่าให้ได้
2.3 จัดพิมพ์ข้อความจาก Name plate ลง ในฟอร์มรายงานต่าง ๆ ตามภาควิชาที่ ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา ดังนั้นรายงานทุกแผ่นจะมีชื่อ นามสกุล เลขที่ทั่วไปของผู้ป่วย เหมือนกันหมด ซึ่งเป็นการสะดวกในการค้นหารายงานโดยไม่ผิดพลาด นอกจากนั้นยังพิมพ์ลงในแผ่นกระดาษกาว (Sticker) ซึ่งจะไว้ใช้สำหรับติดบนใบ Lab แผ่นต่อ และขวดหรือภาชนะใส่ Specimen ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีประโยชน์มาก อ่านได้ง่าย ชัดเจนและไม่เละเลือนเมื่อถูกน้ำ หรือ Specimen ที่ส่งไปแผ่นโลหะเหล่านี้ เจ้าหน้าที่จะเรียง เก็บเข้าที่ตามวันและหอพักผู้ป่วย เพื่อสะดวกในการค้นหา และเมื่อจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน เจ้าหน้าที่จะค้นแผ่นโลหะชื่อเหล่านั้น มาลบแล้วเก็บไว้ใช้ต่อไปได้อีก
3. หน่วยตรวจสอบ
3.1 ตรวจสอบ Control card ใหม่ กับใบแจ้งประจำหอใน ช่องรับผู้ป่วยเพื่อตรวจสอบให้แน่นอนว่ารับผู้ป่วยไว้รักษาจริงหรือไม่ ถ้ามีผู้ป่วยรับไว้รักษา แต่ไม่มี Control Card ก็ต้องให้ญาติของผู้ป่วยมาจัดทำเสีย หรือถ้ามี Control card แต่ไม่มีชื่อว่ารับไว้ ก็จะต้องตรวจสอบให้แน่นอนว่ารับไว้หอใด
3.2 ตรวจสอบ Control card เก่า กับใบแจ้งประจำหอ ในช่องจำหน่ายเพื่อสอบว่าจำหน่ายผู้ใดกลับบ้านบ้าง เจ้าหน้าที่ก็จะดึง Control card แยกออกมาไว้ต่างหาก ลงวันที่และสภาพที่จำหน่าย
3.3 ตรวจสอบ Control card ที่ผู้ป่วยจำหน่ายแล้ว กับรายงานที่ส่งมาจากหอผู้ป่วยภาควิชาต่าง ๆ แยก Control card ที่ผู้ป่วยจำหน่ายแล้ว แต่ยังไม่ส่งรายงานมาที่แผนก เวชระเบียนและสถิติมาพิมพ์รายชื่อ เลขที่ทั่วไป หอผู้ป่วย ภาควิชา เพื่อส่งไปทวงรายงานตามภาควิชาต่าง ๆ ทุกสิ้นเดือน
4. หน่วยให้รหัส
ให้รหัสชื่อ โดยเจ้าหน้าที่จะนำ Control card มาให้รหัสตามหลักสากลที่ดัดแปลงมาจากSoundex เพื่อสะดวกในการค้นหารายงานผู้ป่วยเมื่อทำบัตรหายหรือลืมนำบัตรมาให้รหัสโรคการรักษาตามหลักสากลโดยใช้หนังสือขององค์การอนามัยโลก คือ International Classification of iseases และการผ่าตัด Code of Surgical Operation อายุ เพศ อาชีพ สภาพสมรส ที่อยู่ ผลการรักษา สาเหตุการตาย
5. หน่วยเครื่องจักร
5.1 เจาะบัตร มีเครื่องเจาะบัตร ไอ.บี.เอ็ม. จำนวน 2 เครื่อง
5.1.1 เจาะบัตร Control card เนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนมาก การทำ Name card ธรรมดา ไม่สามารถเรียง ทันเวลา จึงได้ดัดแปลงบัตร ไอ.บี.เอ็ม. ขึ้นใช้เป็น Name card ซึ่งเรียกชื่อใหม่ว่า Control card เพื่อใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง โดยถ่ายทอดข้อความจากบัตรทางด้านซ้ายเจาะลงในบัตรทางด้านขวา มีชื่อ นามสกุล เลขที่ทั่วไป เพศ อายุ วันเวลาที่รับไว้ ภาควิชา หอผู้ป่วย และวันเวลาที่จำหน่าย สภาพที่จำหน่าย แล้วใช้เครื่องแยกบัตร (Sorter) เรียงเข้าที่ตามชื่อ เสร็จแล้วเจ้าหน้าที่จะเรียงเข้าตู้ด้วยมืออีกครั้งหนึ่ง
5.1.2 เจาะบัตรโรค โดยถ่ายทอดข้อความรหัสจากใบสรุปรายงาน ซึ่งเจ้าหน้าที่รหัสให้ไว้ มีเลขที่ทั่วไป อายุ เพศ อาชีพ สภาพสมรส ที่อยู่ จังหวัด เวลารักษาใน ร.พ. โรค โรคแทรกซ้อน การรักษา การผ่าตัด ผลการรักษา ถ้าตายมีสาเหตุการตาย อายุเมื่อตาย เจาะลงบัตร ไอ.บี.เอ็ม.
5.2 ตรวจสอบบัตร โดยนำบัตรที่เจาะเรียบร้อยแล้วมาตรวจสอบความถูกต้องของบัตร โดยใช้เครื่องตรวจ สอบบัตรของ บริษัท ไอ.บี.เอ็ม.
5.3 นับ แยกบัตร โดยใช้เครื่องนับ แยกบัตร
5.3.1 จำแนกบัตร Control card ใหม่ ตามหอผู้ป่วยเพื่อตรวจสอบกับใบแจ้งประจำหอ
5.3.2 จำแนก Control card เก่า ที่ผู้ป่วยจำหน่ายแล้วตามภาควิชา เพื่อตรวจสอบกับรายงานผู้ป่วย
5.3.3 จำแนก Control card เก่า ที่ภาควิชาต่าง ๆ ค้างส่ง รายงานผู้ป่วยในเพื่อนำไปพิมพ์ตารางทวงรายงานขาดส่งจากตามภาควิชาต่าง ๆ
5.3.4 แยกชนิดของบัตร โรคของผู้ป่วยใน และนับจำนวนบัตร ส่วนการทำสถิติโรคนั้น เนื่องจากเครื่องชนิดนี้มีขีดความสามารถจำกัด จึงไม่สะดวกในการจัดทำโดยเครื่องจักรชนิดนี้ จึงส่งบัตรโรคไปทำตารางสถิติโรครายปี โดยเครื่อง Computer ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ
6. หน่วยเก็บและค้นรายงาน
6.1 จัดเรียง Control card ซึ่งผู้ป่วยจำหน่ายแล้ว และรายงานผู้ป่วยได้ส่งมาที่แผนก ฯ เรียบร้อยแล้ว เพื่อใช้เป็น Name indexing card โดยเก็บเรียงตามชื่อที่ให้รหัสไว้ในระบบ Soundex ซึ่งเป็น ประโยชน์มาก ในกรณีที่ผู้ป่วยทำบัตรเก่าหาย หรืออยากจะทราบประวัติว่าเคยมารับการรักษาหรือเปล่า เมื่อใด เป็นเวลากี่ครั้ง โดยเพียงแต่บอกชื่อและนามสกุลเท่านั้นทางหน่วยก็จะค้นรายงานเก่าให้ได้
6.2 จัดเก็บรายงานผู้ป่วยในที่ให้รหัสและเจาะบัตรเรียบร้อยแล้วเข้าที่โดยใช้เลขที่ทั่วไปของผู้ป่วย เรียงตาม Terminal digit filing ค้นรายงานเก่าของผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยมาขอรับการรักษาใหม่ และแพทย์ต้องการทราบประวัติเดิมค้นรายงานผู้ป่วยให้แพทย์ นักศึกษาแพทย์ พยาบาล นักศึกษาพยาบาล เพื่อศึกษาค้นคว้า วิจัย สัมมนาผู้ป่วยที่เป็นคดีทางศาล หรือตำรวจ อาจจะต้องการหลักฐานไปอ้างอิง ทางหน่วยก็จะค้นรายงานให้โดยผ่านท่านหัวหน้าภาควิชาโรงพยาบาลศิริราช
7. หน่วยสูติบัตรและมรณบัตร
7.1 จัดทำสูติบัตรให้กับเด็กเกิดใหม่ในโรงพยาบาล
7.2 จัดทำมรณบัตรให้กับผู้ที่ถึงแก่กรรมในโรงพยาบาล รวมทั้งเด็กตายคลอดด้วย
8. หน่วยแจ้งโรคติดต่อ จะแจ้งโรคติดต่อทุกชนิดที่พบในโรงพยาบาลศิริราชไปยังกองควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุขทุกวัน
9. หน่วยจัดพิมพิ์
9.1 จัดพิมพ์แบบฟอร์มรายงานต่าง ๆ ทั้งหมดของโรงพยาบาลศิริราช มีประมาณ 300 กว่าแบบ
9.2 ออกแบบ ดัดแปลงแบบพิมพ์ให้เหมาะสม
9.3 แบบพิมพ์ต่าง ๆ จะเก็บไว้ที่แผนก ฯ และจ่ายให้ภาควิชาต่าง ๆ เมื่อมีใบเบิก
9.4 จัดพิมพ์หนังสือสถิติรายปี
9.5 มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดพิมพ์ต่าง ๆ
10. หน่วยสถิติ
10.1 จัดทำสถิติผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของโรงพยาบาล แยกเป็นภาควิชารวบรวมเป็นรายวัน รายเดือน และรายปี
10.2 รวบรวมสถิติการผ่าตัด จำแนกเป็นผ่าตัดย่อย ผ่าตัดใหญ่ และผ่าตัดด่วน
10.3 รวบรวมสถิติจำนวนเตียงในโรงพยาบาลศิริราช แยกเป็นภาควิชาและเป็นสามัญ กับพิเศษ
10.4 รวบรวมสถิติแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในโรงพยาบาล
10.5 จัดทำสถิติโรคของผู้ป่วยใน ตามหลักสากลและพิมพ์เป็นหนังสือสถิติรายปี
10.6 จัดทำสถิติผลงานของภาควิชาต่าง ๆ ส่งลงพิมพ์สารศิริราช เป็นรายเดือน
10.7 จัดทำตารางสถิติโรคโดยละเอียด เพื่อเป็นดัชนีโรค สะดวกในการค้นรายงานเพื่อการวิจัย



ภาระและหน้าที่ที่จะต้อง ปฎิบัติ

1 เก็บสถิติผู้ป่วยที่มีนัด ตรงวัน
2 บันทีกรหัสโรคย้อนหลังลงในคอมพิวเตอร์
3 เก็บแฟ้มผู้ป่วยตามจุดตรวจ ให้นักเวช ฯ ลงรหัสโรค และบันทึกลงในคอมพิวเตอร์
4 เก็บแยกแฟ้มให้ แพทย์ . พยาบาล และเก็บแฟ้มที่มีนัด ภายในสัปดาห์
5 คนหา HN ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ของผู้ป่วย